งานวิศวกรรมโครงสร้าง
1. ไม่มีการชำรุดเสียหายบริเวณโครงสร้าง ไม่มีรอยแตกร้าวตามเสา - คานมีสภาพภายนอกและภายในห้องปฏิบัติการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย (สภาพภายนอก ได้แก่ สภาพบริเวณโดยรอบหรืออาคารข้างเคียงและสภาพภายในตัวอาคารที่อยู่ติดกับห้องปฏิบัติการ)
ดูรายละเอียดจากหัวข้อที่ 2
2. โครงสร้างอาคารสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกของอาคาร (น้ำหนักของผู้ใช้อาคาร อุปกรณ์และเครื่องมือ) ได้ การตรวจสอบโครงสร้างอาคารทางด้านความมั่นคงแข็งแรง จากคู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคาร เพื่อความปลอดภัย (สำหรับการตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย) โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ได้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภาคสนาม ไว้ดังนี้ การตรวจอาคารตามกฎหมายตรวจสอบอาคารเป็นเพียงการตรวจเบื้องต้นโดยมีแนวทางการสำรวจเบื้องต้นแสดง ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 แนวทางการตรวจสอบอาคารในภาคสนามเบื้องต้น
(ที่มา คู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคาร เพื่อความปลอดภัย, 2551: หน้า 333)
ส่วนรายละเอียดการตรวจสอบสภาพความเสียหายของโครงสร้าง ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อที่ 1 งานวิศวกรรมโครงสร้าง : รายละเอียดเพิ่มเติม
3. โครงสร้างอาคารมีความสามารถในการกันไฟและทนไฟ รวมถึงรองรับเหตุฉุกเฉินได้ (มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายของอาคารเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในช่วงเวลาหนึ่งที่สามารถอพยพคนออกจากอาคารได้)
ให้ใช้ตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย วสท. 3002–51 ในภาคที่ 2 หมวดที่ 3 เรื่องมาตรฐานโครงสร้างของอาคารเพื่อป้องกันอัคคีภัย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อที่ 2 งานวิศวกรรมโครงสร้าง : รายละเอียดเพิ่มเติม)
4. มีการตรวจสอบสภาพของโครงสร้างอาคารอยู่เป็นประจำ/มีการดูแลและบำรุงรักษาอย่างน้อยปีละครั้ง
ควรมีการดูแลรักษา ตรวจสอบสภาพการใช้งาน ดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อย่างน้อยปีละครั้งตามคู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย (สำหรับการตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย) ภาคที่ 4 การตรวจสอบด้านความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร (ดูรายละเอียดในหัวข้อที่ 3 งานวิศวกรรมโครงสร้าง : รายละเอียดเพิ่มเติม)
|