มาตรฐานที่ล้างตาและอ่างล้างตาฉุกเฉิน
ที่ล้างตา (รูปที่ 1) ในห้องปฏิบัติการควรเป็นน้ำสะอาด หรือสารละลายน้ำเกลือที่ใช้กันทั่วไปในการชะล้างตา มาตรฐานที่ล้างตาและอ่างล้างตาฉุกเฉิน (ANSI Z358.1–1998: American National Standard Institute) มีข้อกำหนดทั่วไปว่า ที่ล้างตาฉุกเฉินมีคุณภาพและลักษณะตรงตามมาตรฐานที่ยอมรับได้ สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย มีประสิทธิภาพในการชะล้างสารอันตรายออกจากตาได้ ต้องมีสัญญาณเสียงหรือไฟกระพริบขณะใช้งาน ต้องมีการทดสอบการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ และต้องมีการจัดทำคู่มือวิธีการใช้/อบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน

รูปที่ 5.1 ตัวอย่างป้ายบอกจุดติดตั้งที่ล้างตา ชุดล้างตาแบบติดผนัง และอ่างล้างตาฉุกเฉิน
(ที่มา เข้าถึงได้จาก http://ca.wikipedia.org/wiki/Fitxer:Sign_eyewash.svg,
http://en.wikipedia.org/wiki/File:2008-07-02_Eye_wash_station.jpg,
http://www.plumbingsupply.com/eyewash_heaters.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555)
มาตรฐานชุดฝักบัวฉุกเฉิน
ชุดฝักบัวฉุกเฉิน (Emergency shower, รูปที่ 5.2) ตามมาตรฐาน ANSI Z358.1–1998 กำหนดไว้ว่า
- น้ำที่ถูกปล่อยออกมาต้องมีความแรงที่ไม่ทำอันตรายต่อผู้ใช้ โดยต้องปล่อยน้ำได้อย่างน้อย 75.7 ลิตร/นาที หรือ 20 แกลลอน/นาที ที่แรงดัน 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที
- อุปกรณ์สำหรับการควบคุมปิด/เปิด ต้องเข้าถึงได้ง่าย สามารถปล่อยน้ำได้ภายใน 1 วินาทีหรือน้อยกว่า
- น้ำมีอัตราการไหลอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องใช้มือบังคับ
- ต้องมีป้าย ณ บริเวณจุดติดตั้งชัดเจน
- ฝักบัวฉุกเฉินต้องสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและรวดเร็ว มีระยะไม่เกิน 30 เมตร (100 ฟุต) จากจุดเสี่ยง และต้องไปถึงได้ใน 10 วินาที เส้นทางต้องโล่งไม่มีสิ่งกีดขวาง (เป็นเส้นทางตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมีแสงสว่างเพียงพอ) หากมีการใช้สารเคมีที่มีอันตรายมาก ควรติดตั้งฝักบัวฉุกเฉินให้ติดกับพื้นที่นั้น หรือใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้
- บริเวณที่ติดตั้งอยู่บนพื้นระดับเดียวกันกับพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ไม่ใช่ทางลาดลง
- อุณหภูมิของน้ำควรรักษาให้คงที่อยู่ระหว่าง 15 – 35 องศาเซลเซียส ในกรณีที่สารเคมีที่ใช้ทำให้เกิดแผลไหม้ที่ผิวหนัง ควรให้น้ำมีอุณหภูมิอยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลจาก SDS ของสารเคมีก่อน
- ตำแหน่งที่ติดตั้งฝักบัวฉุกเฉิน ควรอยู่ในระยะ 82 – 96 นิ้ว (208.3 – 243.8 เซนติเมตร) จากระดับพื้น นอกจากนี้ ที่ระดับสูงจากพื้น 60 นิ้ว (152.4 เซนติเมตร) ละอองน้ำจากฝักบัวต้องแผ่กว้างเป็นวงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 20 นิ้ว และคันชักเปิดวาล์วเข้าถึงได้ง่าย และไม่ควรสูงเกิน 69 นิ้ว (173.3 เซนติเมตร) จากระดับพื้น (อาจปรับให้เหมาะสมตามส่วนสูงของผู้ปฏิบัติงาน)

รูปที่ 2 ตัวอย่างป้ายบอกจุดติดตั้งชุดฝักบัวฉุกเฉิน ชุดฝักบัวฉุกเฉิน และลักษณะการใช้งาน
(ที่มา เข้าถึงได้จาก https://www.clarionsafety.com/Learning-Center/Topics/Emergency-Shower-Signs.aspx , http://www.bigsafety.com.au/category9_1.htm. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555)
บทความที่เกี่ยวข้อง
|