องค์กร/หน่วยงาน ควรกำหนดผู้รับผิดชอบที่ดูแลด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการปลอดภัย ทั้งโดยภาพรวม และในแต่ละองค์ประกอบ รวมทั้งกำหนดผู้ประสานงานความปลอดภัยกับหน่วยงานภายในและภายนอก และผู้ตรวจประเมินจากภายในและภายนอกหน่วยงาน ทั้งนี้ การกำหนดผู้รับผิดชอบนั้น ควรครอบคลุมองค์ประกอบต่อไปนี้
-
การจัดการสารเคมี
-
การจัดการของเสีย
-
ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ
-
การป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย
-
การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
-
การจัดการข้อมูลและเอกสาร
องค์กร/หน่วยงาน ควรระบุบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบให้ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ดังตัวอย่างในตารางและ ต้องมีรายงานการปฏิบัติการ เพื่อการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
ตาราง ตัวอย่างการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง
ตำแหน่ง |
บทบาทหน้าที่ |
1. หัวหน้าองค์กร |
แต่งตั้งผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กร
- กำหนดนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ โครงสร้างการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กร กำหนดผู้รับผิดชอบ และภาระหน้าที่
- สร้างระบบสนับสนุนการดำเนินการต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
- สื่อสารความสำคัญของการมีระบบบริหารความปลอดภัยและทำให้เกิดความยั่งยืนในองค์กร/หน่วยงาน
- ทบทวนการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบาย |
2. ผู้บริหารจัดการความปลอดภัยขององค์กร |
- ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนบริหารจัดการความปลอดภัยขององค์กร
- แต่งตั้งคณะอำนวยการการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ |
3. คณะอำนวยการการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย
- หัวหน้าหน่วยงานที่มีห้องปฏิบัติการ เช่น คณบดี หัวหน้ากอง/ฝ่าย
- หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยขององค์กร |
- กำหนดนโยบาย และกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ใน 6 ด้าน ได้แก่
• ระบบการจัดการสารเคมี
• ระบบการจัดการของเสีย
• ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ
• ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย
• ระบบการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
• ระบบการจัดการข้อมูลและเอกสาร
- ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของห้องปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย |
4. หัวหน้าหน่วยงานที่มีห้องปฏิบัติการ |
- กำหนดให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทั้งหมดของหน่วยงาน
- สนับสนุนและส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย โดยใช้กลยุทธ์ทั้ง 6 ด้านในลักษณะบูรณาการระบบและกิจกรรม
- สนับสนุนและส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการใช้ระบบการจัดการข้อมูลสารเคมีและของเสียอันตรายร่วมกัน
- แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการเพื่อความปลอดภัยฯ ของหน่วยงาน
- ส่งเสริมสนับสนุนและติดตามการดำเนินการของคณะทำงานฯ |
5. หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยขององค์กร |
- บริหารจัดการให้เกิดกลุ่มปฏิบัติด้านการโต้ตอบเหตุฉุกเฉิน
- จัดระบบรายงานและพัฒนาระบบการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ประสานการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก |
6. คณะทำงานเพื่อความปลอดภัยฯ |
- บริหารจัดการให้เกิดกลุ่มดำเนินการจัดระบบและกิจกรรม เพื่อความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทั้ง 6 ด้าน ตามนโยบายและเป้าประสงค์ที่คณะกรรมการอำนวยการฯ กำหนดไว้
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ห้องปฏิบัติการใช้ระบบและร่วมกิจกรรมของทั้ง 6 กลุ่ม ด้วยการถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและผู้เกี่ยวข้อง
|
7. หัวหน้าห้องปฏิบัติการ |
- ป้องกันและลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการด้วยระบบการจัดการสารเคมีและของเสียอันตราย การติดตามตรวจสอบและดูแลบำรุงรักษาลักษณะทางกายภาพให้อยู่ในสภาพปลอดภัย จัดหาและบำรุงรักษาเครื่องป้องกันภัยส่วนบุคคลไว้ให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงสูง
- กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามกลยุทธ์ทั้ง 6 ด้าน
- กำหนดมาตรการและกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัย
- สื่อสารและแจ้งเตือนข้อมูลปัจจัยและความเสี่ยงต่างๆ ของห้องปฏิบัติการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
- อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยให้ผู้เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ |
8. พนักงาน/เจ้าหน้าที่ประจำห้องห้องปฏิบัติการ |
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและมาตรการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
- รับทราบข้อมูลปัจจัยและความเสี่ยงต่างๆ ของห้องปฏิบัติการ
- เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการตามที่กำหนด
- รายงานภัยอันตรายที่เกิดขึ้นในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
- แจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบถึงปัจจัยหรือความเสี่ยงที่พบ |
|
|