งานวิศวกรรมระบบระบายอากาศและปรับอากาศ
1. มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ
หากมีการระบายอากาศด้วยพัดลม ให้มีการดำเนินการติดตั้งในตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะสม โดยพัดลมที่เลือกใช้ควรเป็นลักษณะที่ติดตั้งบนผนังหรือเพดานแบบถาวร มากกว่าจะเป็นแบบตั้งพื้นแบบชั่วคราว ซึ่งมีแนวโน้มในการก่อให้เกิดอันตรายหรือมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุ หากมีความจำเป็นต้องใช้งานพัดลมตั้งพื้นหรือชนิดที่เคลื่อนย้ายได้ควรใช้งานในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นเท่านั้นรวมทั้งพัดลมที่ติดตั้งอยู่ภายในห้องสามารถใช้งานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายในขณะทำงานหรือไม่รบกวนการทดลองที่เกิดขึ้น
หากมีการติดตั้งระบบระบายอากาศด้วยพัดลมดูดอากาศให้มีการดำเนินการติดตั้งในตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานต่างๆ ดังนี้
1) ตามมาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วสท. 3003 - 50
2) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) และฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540)
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในงานวิศวกรรมระบบระบายอากาศและปรับอากาศ : มาตรฐานระบบระบายอากาศ
2. มีการติดตั้งระบบปรับอากาศในตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ
หากมีการติดตั้งระบบปรับอากาศให้มีการดำเนินการติดตั้งในตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อมตามมาตรฐานต่างๆ ดังนี้
1) ตามมาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วสท. 3003 – 50
2) ตามมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร ส.ว.ป.ท. 04 – 2549
3) ตามคู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย ภาคที่ 6 เทคนิคการตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
4) ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฯ เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศในประเทศไทย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในงานวิศวกรรมระบบระบายอากาศและปรับอากาศ : มาตรฐานระบบปรับอากาศและอ่านควบคู่กับงานวิศวกรรมระบบระบายอากาศและปรับอากาศ : มาตรฐานระบบระบายอากาศ
3. มีการดูแลและบำรุงรักษาระบบระบายอากาศและระบบปรับอากาศของห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ
ควรมีการดูแลรักษา ตรวจสภาพการใช้งานอย่างละเอียด ดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่กำหนดไว้ในคู่มือการใช้งาน
บทความที่เกี่ยวข้อง
|