ข้อกำหนดสำหรับการจัดเก็บสารออกซิไดซ์ (Oxidizers) และสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์
สารออกซิไดซ์สามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้และการระเบิดได้เมื่อสัมผัสกับสารไวไฟและสารที่ไหม้ไฟได้ เมื่อสารที่ไหม้ไฟได้สัมผัสกับสารออกซิไดซ์จะทำให้อัตราในการลุกไหม้เพิ่มขึ้น ทำให้สารไหม้ไฟได้เกิดการลุกติดไฟขึ้นทันที หรือทำให้เกิดการระเบิดเมื่อได้รับความร้อน การสั่นสะเทือน (shock) หรือแรงเสียดทาน (ตัวอย่างกลุ่มสารออกซิไดซ์แสดงดังรายละเอียดด้านล่าง) การจัดเก็บสารออกซิไดซ์มีข้อกำหนดดังนี้
1. เก็บสารออกซิไดซ์ห่างจากความร้อน แสง แหล่งกำเนิดประกายไฟ อย่างน้อย 25 ฟุต (7.6 เมตร) ทั้งนี้ควรพิจารณาจากปริมาณสารออกซิไดซ์ และขนาดของแหล่งความร้อน/แหล่งกำเนิดประกายไฟในห้องปฏิบัติการประกอบกันด้วย ตัวอย่างเช่น หากมีแหล่งที่ให้ความร้อนสูงมากอยู่ในห้องปฏิบัติการ ควรจัดเก็บสารออกซิไดซ์ห่างจากแหล่งความร้อนมากกว่า 25 ฟุต (7.6 เมตร)
2. เก็บสารที่มีสมบัติออกซิไดซ์ ไว้ในภาชนะแก้วหรือภาชนะที่มีสมบัติเฉื่อย
3. ใช้ฝาปิดที่เหมาะสม สำหรับขวดที่ใช้เก็บสารออกซิไดซ์ ไม่ควรใช้จุกคอร์ก หรือจุกยาง เนื่องจากจุกคอร์ก หรือจุกยาง สามารถทำปฏิกิริยากับสารออกซิไดซ์ได้
ตัวอย่างกลุ่มสารออกซิไดซ์
Peroxides (O22-) Chlorates (ClO3-)
Nitrates (NO3-) Chlorites (ClO2-)
Nitrites (NO2-) Hypochlorites (ClO-)
Perchlorates (ClO4-) Dichromates (Cr2O72-)
Permanganates (MnO4-) Persulfates (S2O82-)
Chromates (CrO42-)
สารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์ (Peroxide–forming materials) หมายถึง สารที่เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศ ความชื้น หรือสิ่งปนเปื้อนต่างๆ แล้วทำให้เกิดสารเพอร์ออกไซด์ เช่น ether, dioxane, sodium amide, tetrahydrofuran (THF) เป็นต้น สารเพอร์ออกไซด์เป็นสารที่ไม่เสถียรสามารถทำให้เกิดการระเบิดได้เมื่อมีการสั่นสะเทือน แรงเสียดทาน การกระแทก ความร้อน ประกายไฟ หรือ แสงแดด ตัวอย่างสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์ ดังตารางที่ 1
การจัดเก็บสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์มีข้อกำหนดดังนี้
1. เก็บสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์ห่างจากความร้อน แสง และแหล่งกำเนิดประกายไฟ อย่างน้อย 25 ฟุต (7.6 เมตร) ทั้งนี้ควรพิจารณาจากปริมาณสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์ และขนาดของแหล่งความร้อน/แหล่งกำเนิดประกายไฟในห้องปฏิบัติการประกอบกันด้วย ตัวอย่างเช่น หากมีแหล่งที่ให้ความร้อนสูงมากอยู่ในห้องปฏิบัติการ ควรจัดเก็บสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์ห่างจากแหล่งความร้อนมากกว่า 25 ฟุต (7.6 เมตร)
2. ภาชนะบรรจุสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์ต้องมีฝาปิดที่แน่นหนา และไม่ใช้จุกแก้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศ เนื่องจากแรงเสียดทานขณะเปิดอาจทำให้เกิดการระเบิดได้
3. มีการตรวจสอบการเกิดเพอร์ออกไซด์อย่างสม่ำเสมอ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบการเกิดเพอร์ออกไซด์สามารถดูได้ที่
-
6.G.3.2 Peroxide Detection Tests, Prudent Practices in the Laboratory, the National Academy of Sciences, US, 2011
-
Peroxide Forming Solvents (http://www.sigmaaldrich.com/chemistry/solvents/learning-center/peroxide-formation.html)
-
EH&S Guidelines for Peroxide Forming Chemicals, Environmental Health & Safety, University of Washingto (http://www.ehs.washington.edu/forms/epo/peroxideguidelines.pdf)
ตารางที่ 1 ประเภทของสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์
Class A : Chemicals that form explosive levels of peroxides without concentration
|
Isopropyl ether
Butadiene
Chlorobutadiene (Chloroprene)
Potassium amide
Potassium metal
|
Sodium amide (Sodamide)
Tetrafluoroethylene
Divinyl acetylene
Vinylidene Chloride
|
Class B : These chemicals are peroxide hazard on concentration (distillation/evaporation). A test for peroxide should be performed if concentration is intended or suspected.
|
Acetal
Cumene
Cyclohexane
Cyclooctene
Cyclopentene
Diacetylene
Dicyclopentadiene
Diethylene glycol dimethyl ether (diglyme)
Diethyl ether
|
Dioxane (p-dioxane)
Ethylene glycol dimethyl ether (glyme)
Furan
Methyl acetylene
Methyl cyclopentane
Methyl-Isobutyl ketone
Tetrahydrofuran
Tetrahydronaphthalene
Vinyl ethers
|
Class C : Unsaturated monomers that may autopolymerize as a result of peroxide accumulation if inhibitors have been removed or are depleted.
|
Acrylic acid
Butadiene
Chlorotrifluoroethylene
Ethyl acrylate
Methyl methaacrylate
|
Styrene
Vinyl acetate
Vinyl chloride
Vinyl pyridine
|
ที่มา Table 4.8 Classes of chemicals that can form peroxides, Prudent Practices in the Laboratory, the National Academy of Sciences, US, 2011
ตารางที่ 2 ตัวอย่างเกณฑ์การพิจารณาในการทิ้งสารที่ก่อให้เกิดเพอร์ออกไซด์
เพอร์ออกไซด์ที่เกิดอันตรายได้จากการเก็บ : ทิ้งหลังจากเก็บเกิน 3 เดือน
|
Divinyl acetylene
Divinyl ether
Isopropyl ether
|
Potassium metal
Sodium amide
Vinylidene chloride
|
เพอร์ออกไซด์ที่เกิดอันตรายได้จากความเข้มข้น : ทิ้งหลังจากเก็บเกิน 1 ปี
|
Acetal
Cumene
Cyclohexene
Cyclooxyene
Cyclopentene
Diacetylene
Dicyclopentadiene
Diethyl ether
Diethylene glycol dimethyl ether
|
Dioxane
Ethylene glycol dimethyl ether
Furan
Methyl acetylene
Methyl cyclopentane
Methyl isobutyl ketone
Tetrahydronaphtalene (Tetralin)
Tetrahydrofuran
Vinyl ethers
|
อันตรายเนื่องจากเพอร์ออกไซด์เกิดพอลิเมอไรเซชัน*: ทิ้งหลังจากเก็บเกิน 1 ปี
|
Acrylic acid
Acrylonitrile
Butadiene*
Chloroprene*
Chlorotrifluoroethylene
Methyl methacrylate
|
Styrene
Tetrafluoroethylene*
Vinyl acetylene
Vinyl acetate
Vinyl chloride
Vinyl pyridine
|
* หากเก็บในสภาวะของเหลว จะมีโอกาสเกิดเพอร์ออกไซด์เพิ่มขึ้น และมอนอเมอร์บางชนิด (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง butadiene, chloroprene, และtetrafluoroethylene) ควรทิ้งหลังจากเก็บเกิน 3 เดือน
ที่มา Princeton University [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://web.princeton.edu/sites/ehs/labsafetymanual/sec7c.htm#removal สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555
|