ข้อกำหนดสำหรับการจัดเก็บแก๊ส ตัวอย่างเช่น
1. การเก็บถังแก๊สในห้องปฏิบัติการต้องมีอุปกรณ์ยึดที่แข็งแรง ถังแก๊สทุกถังต้องมีสายคาด 2 ระดับ หรือโซ่ยึดกับผนัง โต๊ะปฏิบัติการ หรือที่รองรับอื่นๆ ที่สามารถป้องกันอันตรายให้กับผู้ปฏิบัติงานในบริเวณใกล้เคียงจากน้ำหนักของถังแก๊สที่อาจล้มมาทับได้ ดังตัวอย่างในรูปที่ 1
รูปที่ 1 ตัวอย่างการวางถังแก๊สที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ
(ที่มา เข้าถึงได้จาก http://blink.ucsd.edu/safety/research-lab/chemical/gas/storage.html#Basic-storage-guidelines-for-al สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2556)
2. ถังแก๊สที่ไม่ได้ใช้งานทุกถังต้องมีฝาปิดครอบหัวถัง หรือมี guard ป้องกันหัวถัง ดังตัวอย่างในรูปที่ 2.3 ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายจากแก๊สภายในถังพุ่งออกมาอย่างรุนแรงหากวาล์วควบคุมที่คอถังเกิดความเสียหาย
รูปที่ 2 ตัวอย่างถังแก๊สที่มี guard ป้องกันหัวถัง ขณะใช้งาน
(ที่มา เข้าถึงได้จาก http://proactivegassafety.com/gas-safety-training-workshops/laboratory-gas-users-workshop สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2556)
3. มีพื้นที่เก็บถังแก๊สเปล่ากับถังแก๊สที่ยังไม่ได้ใช้งาน และติดป้ายระบุไว้อย่างชัดเจน
4. ถังแก๊สมีที่วางปลอดภัย ห่างจากความร้อน แหล่งกำเนิดไฟ และเส้นทางสัญจรหลัก โดยบริเวณที่เก็บถังแก๊สควรเป็นที่แห้งและอากาศถ่ายเทได้ดี มีอุณหภูมิไม่เกิน 52 องศาเซลเซียส (ที่มา How Do I Work Safely with Compressed Gases, Prevention & Control of Hazards, Canadian Centre for Occupational Health and Safety. เข้าถึงได้จาก http://www.ccohs.ca/oshanswers/prevention/comp_gas.html สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558))
5. เก็บถังแก๊สออกซิเจนห่างจากถังแก๊สเชื้อเพลิง (เช่น acetylene) แก๊สไวไฟ และวัสดุไหม้ไฟได้ (combustible materials) อย่างน้อย 6 m หรือมีฉาก/ผนังกั้นที่ไม่ติดไฟ มีความสูงอย่างน้อย 1.5 เมตร (5 ฟุต) และสามารถหน่วงไฟได้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
สำหรับถังแก๊สที่บรรจุสารอันตรายหรือสารพิษ (ตามรายการต่อไปนี้) ต้องเก็บในตู้เก็บถังแก๊สโดยเฉพาะที่มีระบบระบายอากาศ ดังตัวอย่างในรูปที่ 3
รายการแก๊สอันตราย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
-
Hydrogen Chloride, anhydrous
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|