GHS เป็นระบบการจำแนกประเภท การติดฉลาก และการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) ของสารเคมีและเคมีภัณฑ์ ที่องค์การสหประชาชาติพัฒนาขึ้น เพื่อให้ใช้สื่อสารและมีความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากสารเคมีนั้นๆในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการทดสอบและประเมินสารเคมีและมั่นใจว่าการใช้สารเคมีแต่ละประเภทจะถูกต้องตามที่ระบุ โดยไม่เกิดผลเสียหรืออันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
ระบบ GHS ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประการ
1. กำหนดเกณฑ์การจำแนกประเภทสารเคมีและเคมีภัณฑ์ ตามความเป็นอันตรายด้านกายภาพ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
2. กำหนดองค์ประกอบในการสื่อสารข้อมูลสารเคมีและเคมีภัณฑ์ผ่านทางฉลาก และเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS)
ระบบ GHS ประกอบด้วยสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย 9 รูป (pictograms) ดังนี้
Flame |
Flame over circle |
Exploding bomb |
 |
 |
 |
Corrosion |
Gas cylinder |
Skull and crossbones |
 |
 |
 |
Exclamation mark |
Environment |
Health Hazard |
 |
 |
 |
|
ระบบ GHS แบ่งประเภทความเป็นอันตรายเป็น 3 ด้าน ดังนี้
ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 1–3
ตารางที่ 1 ประเภทและสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายด้านกายภาพ
ประเภทความเป็นอันตราย |
คำอธิบายโดยสังเขป |
สัญลักษณ์* |
1. วัตถุระเบิด
(Explosives) |
- สารในรูปของแข็งหรือของเหลวที่เมื่อทำปฏิกิริยาทางเคมีแล้วเกิดแก๊สที่มีอุณหภูมิและความดันสูงจนสามารถทำความเสียหายให้กับสิ่งโดยรอบ
- สารดอกไม้เพลิง (pyrotechnic substance) |
 |
2. แก๊สไวไฟ
(Flammable gases) |
แก๊สที่มีช่วงความไวไฟกับอากาศที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศ 101.3 กิโลปาสกาล |
 |
3. สารละอองลอยไวไฟ
(Flammable aerosols) |
สารละอองลอยที่มีคุณสมบัติไวไฟ หรือมีส่วนประกอบของสารไวไฟ |
 |
4. แก๊สออกซิไดซ์
(Oxidizing gases) |
แก๊สที่ให้ออกซิเจนได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหรือมีส่วนทำให้วัสดุอื่นเกิดการเผาไหม้มากกว่าปกติ |
 |
5. แก๊สภายใต้ความดัน
(Gases under pressure) |
แก๊สที่มีความดันไม่ต่ำกว่า 200 กิโลปาสกาล ที่บรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุ ซึ่งหมายรวมถึง แก๊สอัด (compressed gas) แก๊สเหลว (liquefied gas) แก๊สในสารละลาย (dissolved gas) และแก๊สเหลวอุณหภูมิต่ำ (refrigerated liquefied gas) |
 |
6. ของเหลวไวไฟ
(Flammable liquids) |
ของเหลวที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส |
 |
7. ของแข็งไวไฟ
(Flammable solids) |
ของแข็งที่ลุกติดไฟได้ง่าย หรืออาจเป็นสาเหตุหรือช่วยให้เกิดไฟด้วยแรงเสียดทาน |
 |
8. สารเคมีที่ทำปฏิกิริยาได้เอง
(Self-reactive substances and mixtures) |
สารที่ไม่เสถียรทางความร้อนซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดการสลายตัวระดับโมเลกุลทำให้เกิดความร้อนขึ้นอย่างรุนแรง แม้ไม่มีออกซิเจน (อากาศ) เป็นส่วนร่วม (ไม่รวมถึงสารที่เป็น วัตถุระเบิด สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ หรือ สารออกซิไดซ์) |

 |
9. ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ
(Pyrophoric liquids) |
ของเหลวที่มีแนวโน้มที่จะลุกติดไฟภายใน 5 นาที แม้มีอยู่ในปริมาณน้อย เมื่อสัมผัสกับอากาศ |
 |
10. ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ
(Pyrophoric solids) |
ของแข็งที่มีแนวโน้มที่จะลุกติดไฟภายใน 5 นาที แม้มีอยู่ในปริมาณน้อย เมื่อสัมผัสกับอากาศ |
 |
11. สารเคมีที่เกิดความร้อนได้เอง
(Self-heating substances and mixtures) |
สารที่ทำปฏิกิริยากับอากาศโดยไม่ได้รับพลังงานจากภายนอก จะทำให้เกิดความร้อนได้เอง (สารประเภทนี้จะแตกต่างจากสารที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ คือ จะลุกติดไฟได้ก็ต่อเมื่อมีปริมาณมาก (หลายกิโลกรัม) และสะสมอยู่ด้วยกันเป็นระยะเวลานาน (หลายชั่วโมงหรือหลายวัน) |
 |
12. สารเคมีที่สัมผัสน้ำแล้วให้แก๊สไวไฟ
(Substances and mixtures, which in contact with water, emit flammable gases) |
สารที่เป็นของแข็งหรือของเหลวที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วสามารถลุกไหม้ได้โดยตัวเองหรือปล่อยแก๊สไวไฟออกมาในปริมาณที่เป็นอันตราย |
 |
13. ของเหลวออกซิไดซ์
(Oxidizing liquids) |
ของเหลวที่โดยทั่วไปจะปล่อยแก๊สออกซิเจน ซึ่งเป็นสาเหตุหรือมีส่วนทำให้วัสดุอื่นเกิดการเผาไหม้ได้มากกว่าปกติ |
 |
14. ของแข็งออกซิไดซ์
(Oxidizing solids) |
ของแข็งที่โดยทั่วไปจะปล่อยแก๊สออกซิเจน ซึ่งเป็นสาเหตุหรือมีส่วนทำให้วัสดุอื่นเกิดการเผาไหม้ได้มากกว่าปกติ |
 |
15. สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
(Organic peroxides) |
สารอินทรีย์ที่เป็นของเหลวและของแข็งที่ประกอบด้วยโครงสร้างที่มีออกซิเจนสองอะตอมเกาะกัน (bivalent-O-O-structure) และอนุพันธ์ของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่อะตอมไฮโดรเจนถูกแทนที่ด้วยอนุมูลอินทรีย์ (organic radicals) และอาจมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- เมื่อสลายตัวทำให้เกิดการระเบิดได้
- ลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็ว
- ไวต่อแรงกระแทกหรือการเสียดสี
- เกิดปฏิกิริยาอันตรายกับสารอื่นๆ ได้ |

 |
16. สารที่กัดกร่อนโลหะ
(Corrosive to metals) |
สารที่ทำความเสียหายหรือทำลายโลหะได้ด้วยผลจากการกระทำทางเคมี |
 |
|
หมายเหตุ* ประเภทความเป็นอันตรายบางประเภทสามารถมีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายได้มากกว่า 1 รูป ขึ้นกับระดับความเป็นอันตรายย่อย (category) ของประเภทความเป็นอันตรายนั้นๆ
ตารางที่ 2 ประเภทและสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายด้านสุขภาพ
หมายเหตุ* ประเภทความเป็นอันตรายบางประเภทสามารถมีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายได้มากกว่า 1 รูป ขึ้นกับระดับความเป็นอันตรายย่อย (category) ของประเภทความเป็นอันตรายนั้นๆ
ตารางที่ 3 ประเภทและสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายด้านสิ่งแวดล้อม
ประเภทความเป็นอันตราย |
คำอธิบายโดยสังเขป |
สัญลักษณ์ |
1. ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
(Hazardous to the aquatic environment) |
หมายรวมถึงปัจจัยต่อไปนี้
- เป็นพิษเฉียบพลันต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
- เป็นพิษเรื้อรังต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
- ทำให้เกิดการสะสมสารเคมีในสิ่งมีชีวิตในน้ำ
- ส่งผลกระทบต่อระบบการย่อยสลายสารเคมีในน้ำหรือในสิ่งมีชีวิต |
 |
2. ความเป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน
(Hazardous to the ozone layer) |
- สามารถทำลายชั้นโอโซนในชั้นบรรยากาศได้
- เป็นสารที่มีอยู่ในรายการสารเคมีที่พิจารณาว่าเป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน ในภาคผนวกของ Montreal Protocol |
 |
|
|