การเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
การเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ครอบคลุมทั้ง การจัดการความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและแผนป้องกันและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ซึ่งประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. มีอุปกรณ์สำหรับตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน อยู่ในบริเวณที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก ห้องปฏิบัติการต้องมีการจัดเตรียมเครื่องมือเพื่อรับภาวะฉุกเฉิน โดยเฉพาะ
▪ ที่ล้างตา ดู มาตรฐานที่ล้างตาและอ่างล้างตาฉุกเฉิน มาตรฐานที่ล้างตาและอ่างล้างตาฉุกเฉิน
▪ ชุดฝักบัวฉุกเฉิน ดู มาตรฐานชุดฝักบัวฉุกเฉิน มาตรฐานชุดฝักบัวฉุกเฉิน
▪ เวชภัณฑ์ นอกจากยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีแล้ว ควรมีเวชภัณฑ์ที่พร้อมรับเหตุฉุกเฉิน เช่น แก้วบาด ผิวหนังไหม้ ตาระคายเคือง เป็นต้น และสิ่งสำคัญคือ ควรมี “antidote” ที่จำเพาะกับความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการด้วย เช่น calcium gluconate สามารถลดพิษของ hydrofluoric acid ได้ เป็นต้น และต้องจัดวางในบริเวณที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
▪ ชุดอุปกรณ์สำหรับสารเคมีหกรั่วไหล เช่น มีวัสดุดูดซับที่เหมาะสมกับสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ (เช่น chemical spill–absorbent pillows หรือ vermiculite (ตัวอย่างป้ายบอกจุดติดตั้งที่ล้างตา ชุดล้างตาแบบติดผนังและอ่างล้างตาฉุกเฉิน) ไว้ในห้องปฏิบัติการอย่างเพียงพอ และเข้าถึงได้ง่ายเมื่อเกิดเหตุ เพื่อดูดซับสารเคมีอันตรายที่เป็นของเหลว เป็นต้น
▪ ชุดอุปกรณ์ทำความสะอาด ที่เข้าถึงได้สะดวก ผู้ปฏิบัติการต้องสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ทำความสะอาดที่จัดวาง ณ ตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่มีอะไรกีดขวางเมื่อเกิดเหตุ

a. chemical spill–absorbent pillow
|

b. vermiculite
|
1 ชุดอุปกรณ์สำหรับสารเคมีหกรั่วไหล
(ที่มา เข้าถึงได้จาก a. http://www.absorbentsonline.com/pillows.htm สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
b. http://inspectapedia.com/sickhouse/asbestoslookC.htm สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556)
|
2. มีแผนป้องกันภาวะฉุกเฉินที่เป็นรูปธรรม หน่วยงาน/ห้องปฏิบัติการมีการวางแผนป้องกันภาวะฉุกเฉินที่เป็นรูปธรรมปฏิบัติได้จริง หมายถึง มีขั้นตอนปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน มีอุปกรณ์ที่พร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉิน บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทราบว่าต้องดำเนินการอย่างไรเมื่อเกิดเหตุ
3. ซ้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เหมาะสมกับหน่วยงาน หน่วยงาน/ห้องปฏิบัติการมีการซ้อมรับมือภาวะฉุกเฉินที่เหมาะสมกับหน่วยงาน เช่น ซ้อมหนีไฟจากสถานที่จริงที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ เป็นต้น
4. ตรวจสอบพื้นที่และสถานที่เพื่อพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน หน่วยงาน/ห้องปฏิบัติการมีการตรวจสอบพื้นที่และสถานที่อยู่สม่ำเสมอ เช่น ประตูฉุกเฉิน ทางหนีไฟ จุดรวมพล เป็นต้น
5. ตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์พร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ หน่วยงาน/ห้องปฏิบัติการ มีการกำหนดช่วงเวลาการตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์พร้อมรับภาวะฉุกเฉิน อย่างสม่ำเสมอ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่ต้องใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์นั้น โดยครอบคลุม สิ่งต่อไปนี้
- ทดสอบที่ล้างตา อย่างน้อยเดือนละครั้ง ขึ้นกับความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุทางตา
- ทดสอบฝักบัวฉุกเฉิน อย่างน้อย 6 เดือนครั้ง ขึ้นกับความเสี่ยงของการเกิดภาวะฉุกเฉินที่ต้องใช้ฝักบัวฉุกเฉิน
- ตรวจสอบและทดแทนเวชภัณฑ์สำหรับตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน อย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อจัดสรรทดแทนส่วนที่ใช้ไป
- ตรวจสอบชุดอุปกรณ์สำหรับสารเคมีหกรั่วไหล อย่างน้อย 6 เดือนครั้ง หรือภายหลังจากการใช้ชุดอุปกรณ์ต้องตรวจสอบเพื่อจัดสรรทดแทนส่วนที่ใช้ไป
- ตรวจสอบอุปกรณ์ทำความสะอาด อย่างน้อยเดือนละครั้ง
6. มีขั้นตอนการจัดการเบื้องต้นเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ที่เป็นรูปธรรม ที่ครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้
▪ การแจ้งเหตุภายในหน่วยงาน เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น ขั้นตอนปฏิบัติเป็นสิ่งแรก คือการแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นไปยังเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุของหน่วยงานภายในได้ทันที เพื่อให้ผู้รับผิดชอบของหน่วยงานรับทราบและเพื่อประสานงานระหว่างหน่วยงานต่อไปได้
▪ การแจ้งเหตุภายนอกหน่วยงาน การแจ้งเหตุภายนอกหน่วยงาน เช่น องค์กรที่หน่วยงานสังกัด ควรมีหน่วยงานกลางที่รับแจ้งเหตุจากผู้ประสบภาวะฉุกเฉิน และ/หรือเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุ ที่สามารถติดต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแจ้งตามลำดับขั้น นอกจากนี้ หน่วยงานต้องมีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อไปยังสถานพยาบาล สถานีตำรวจ และสถานีดับเพลิงที่ใกล้ที่สุดด้วย
▪ การแจ้งเตือน หน่วยงานต้องมีระบบแจ้งเตือนภาวะฉุกเฉินที่แจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีความเชื่อถือได้สูง ให้ทุกคนที่อยู่ในหน่วยงานทราบเหตุโดยทันที สัญญาณเตือนภัยอาจเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ซึ่งสามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ หรือเป็นระบบแจ้งเหตุด้วยมือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์เริ่มสัญญาณให้ทำงานโดยใช้การกระตุ้นจากบุคคล เช่น โดยการดึง หรือทุบกระจกให้แตก เป็นต้น เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารหนีไปยังที่ปลอดภัย
การอพยพคน หน่วยงานมีขั้นตอนการอพยพคนออกจากอาคารไปยังจุดรวมพล โดยทุกคนรับทราบขั้นตอนและสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที ทั้งนี้ต้องมีระบบการตรวจสอบจำนวนคน ณ จุดรวมพลด้วย
|